ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘การยืด’ ที่ควรรู้ ผ่านคำบอกเล่าของนักกายภาพ ‘Stretch me’

 

หลายคนในยุคนี้หลงใหลการทำงานหนัก อาจเพราะความสนุกในการทำงาน ความท้าทายที่อยากเอาชนะ หรือความสำเร็จที่กำลังใกล้เข้ามา ทำให้เรายอมทุ่มเทเวลาอยู่บนเก้าอี้สำนักงานและหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมาย

ระหว่างทางของการทำงาน หลายคนเลือกจะออกกำลังกายเพื่อเสริมสมรรถภาพของร่างกาย บางคนอาจจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนและเตรียมพร้อมสำหรับลุยงานต่อไป ไม่ว่าคุณจะเลือกเส้นทางแบบไหน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมเลยคือการ ‘ดูแล’ ร่างกายของตัวเองด้วย โดยเฉพาะความยืดหยุ่นที่หลายคนมักหลงลืม

วันนี้เราจึงอยากพาคุณลงลึกไปรู้จักกับการยืดแต่ละรูปแบบ โดยเฉพาะโปรแกรมที่ทาง Stretch me ได้ออกแบบมาสำหรับคนที่มีความเสี่ยงด้านกล้ามเนื้ออย่างคนทำงานในออฟฟิศ นักกีฬา และนักท่องเที่ยว ผ่านคำบอกเล่าเกี่ยวกับศาสตร์ของการยืดเหยียด (Stretching) โดยนักกายภาพ ‘เกษฎาพร อรัมสัจจากูล’

 

Q & A

 

Q: ยุคนี้คนเป็นออฟฟิศซินโดรมกันเยอะมาก การยืดสามารถช่วยได้อย่างไรบ้าง

A: อาการออฟฟิศซินโดรมส่วนใหญ่จะเกิดกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เพราะของลักษณะงานของเขาจะต้องนั่งอยู่กับโต๊ะ ทำให้ต้องงอขาตลอดเวลา อาการแรกเลยคือกล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะเกิดอาการเกร็งเพราะไม่ได้ยืดเหยียดเลย สองคือปวดหลังเพราะอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ นอกจากนี้ เวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หากเราวางตำแหน่งของงานและร่างกายไม่ดี ก็จะทำให้เรานั่งในท่าที่ไหล่งุ้ม และคางยื่นไปด้านหน้า

ดังนั้นลักษณะอาการของออฟฟิศซินโดรม จึงมีตั้งแต่อาการปวดขา หลัง ไหล่ คอ หรือบางคนต้องใช้แขนในการพิมพ์ ก็อาจจะปวดแขนและมือด้วย สิ่งที่นักกายภาพของ Stretch me ทำคือการยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ ด้วยท่ายืดที่เหมาะสม โดยหลังจบคอร์สเราก็จะมีการแนะนำวิธีที่ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน เช่น แนะนำว่าระหว่างทำงานเขาควรนั่งอย่างไร จัดตำแหน่งร่างกายแบบไหน เพื่อเป็นการช่วยป้องกันในระยะยาวด้วย และเมื่อกล้ามเนื้อเขายืดหยุ่นและได้รู้วิธีการนั่งที่ถูกต้อง อาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็จะลดน้อยลง

 

Q: การยืดของ Stretch me จะเน้นไปที่บริเวณที่เกิดอาการเลยไหม

A: ใช่ค่ะ Stretch me จะมีคอร์สเพื่อดูแลอาการออฟฟิศซินโดรมโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็น 2 โปรแกรม คือ Basic office ที่จะเหมาะกับคนที่มีอาการปวดเป็นบางจุด และ Advance office ที่เหมาะสำหรับคนที่ปวดหรือตึงหลายๆ จุดหรือทั้งแถบ ซึ่งตอนที่มีการพูดคุยสอบถามอาการ เราจะสอบถามว่าเขามีปัญหาเรื่องไหนมากที่สุด และหลังจากการยืดส่วนต่างๆ จนครบแล้ว เราก็จะไปยืดเน้นตรงจุดที่มีอาการเพิ่มเติมเป็นพิเศษ

 

Q: อาการออฟฟิศซินโดรมใช้เวลารักษานานหรือเปล่า

A: แล้วแต่อาการและระดับอาการ ถ้าลูกค้าเป็นเยอะเราจะแนะนำให้มายืดประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยมีอาการปวด เคลื่อนไหวได้ดีแล้ว ก็อาจจะลดเป็น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ก็ควรมายืดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ร่างกายเราด้วย

 

Q: นอกจากกลุ่มคนออฟฟิศแล้ว กลุ่มนักกีฬามีวิธีการยืดที่แตกต่างจากคนทั่วไปไหม

A: สำหรับนักกีฬาสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการซักถามประวัติ เพราะคนที่เรียนกายภาพจะรู้ว่ากีฬาชนิดไหน ใช้กล้ามเนื้อมัดไหนบ้าง ใช้มัดไหนเยอะ มัดไหนน้อย แล้วเราก็จะสามารถเชื่อมโยงได้ว่าเขามีโอกาสเกิดการบาดเจ็บส่วนไหนบ้าง

หลังจากนั้นพอถึงขั้นตอนการยืด เราอาจจะต้องยืดมากกว่าคนทั่วไป หลายๆ คนมักคิดว่าคนที่ชอบออกกำลังหรือเล่นกีฬา จะมีร่างกายที่ยืดหยุ่นกว่าปกติ แต่จริงๆ แล้วตรงกันข้ามกันเลย คนที่เล่นกีฬาเขาจะมีกล้ามเนื้อที่ตึงกว่าคนทั่วไป เพราะเขาออกกำลังกายอย่างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อเคยชินแค่กับการหดตัว

นอกจากนี้แรงที่ใช้ในการยืดแล้ว การให้คำแนะนำหลังการยืดก็ต้องเปลี่ยน อย่างคนทั่วๆไป เราจะบอกว่าต้องปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างไร ต้องเปลี่ยนท่าทางอย่างไร แต่ถ้าเป็นนักกีฬาเราจะต้องบอกเขาว่า ก่อน ระหว่าง และหลังการเล่นกีฬานั้นๆ เขาควรจะต้องยืดอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการยืดที่เฉพาะเจาะจงและต่างจากคนทั่วไป

 

Q: ได้ยินมาว่า Stretch me มีโปรแกรมเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยวด้วย

A: ใช่ค่ะ จริงๆ ถ้าพูดถึงโปรแกรมเฉพาะ เรามีถึง 4 โปรแกรม คือ Office Stretch, Sport Stretch, Traveler Stretch และ Ultimate Stretch ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็ตรงตามชื่อโปรแกรมเลยคือมีทั้งกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ นักกีฬา และนักท่องเที่ยว ส่วนโปรแกรม Ultimate Stretch นี้เราออกแบบไว้สำหรับคนที่มีอาการหนักมากๆ ขยับนิดหน่อยก็เจ็บแล้ว เราก็จะยืดให้เขา 2 ชั่วโมงเต็มๆ

ส่วน Traveler Stretch ก็จะเหมาะสำหรับคนที่ชอบท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์ เช่น ปีนผา เดินป่า ขึ้นเขา ลงห้วย เพราะใช้กล้ามเนื้อขาเยอะ หรือนักท่องเที่ยวสายช็อปปิ้งที่เดินจนรู้สึกปวดเมื่อยบริเวณขา

 

Q: ก่อนจะมาเป็นนักกายภาพของ Stretch me จะต้องผ่านการฝึกอบรมอะไรมาบ้าง

A: โดยพื้นฐานเลยคือนักกายภาพของที่นี่จะต้องผ่านการเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อต่างๆ มาก่อน หลายคนในทีมเราจบการศึกษาด้านสาธารณสุขหรือกายภาพบำบัด และจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพนักกายภาพบำบัดถูกต้องตามกฎหมาย

หลังจากที่สมัครเข้ามาเป็นนักกายภาพของ Stretch me ก็จะต้องผ่านการอบรมอย่างเข้มข้นอีกครั้งหนึ่ง โดยโปรแกรมเทรนนิ่งของนักกายภาพที่มีประสบการณ์ทั้งจากต่างประเทศและในโรงพยาบาล ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของนักกายภาพแต่ละคน เพื่อปรับพื้นฐานความรู้ให้อยู่ในระดับเดียวกัน

หลังจากนั้นผู้สอนก็จะเริ่มลงลึกไปที่เรื่องของการยืดเหยียด การใช้อุปกรณ์ต่างๆ และการบริการลูกค้า ซึ่งคนในทีมก็จะเรียนรู้ไปพร้อมกัน หลังจากนั้นก็จะมีการสอบวัดผลเพื่อให้ผ่านเกณฑ์และมาตรฐานของ Stretch me ก่อนไปลงงานจริง

การสอบจะมีผู้สอนเข้าจะมาทดลองเป็นลูกค้า และระหว่างการยืดก็จะยิงคำถามที่เป็นทฤษฎีที่เราเรียนมาด้วย มีการให้คะแนนว่าเราผิดพลาดตรงไหน มีมาตรฐานก่อนว่ายืดกี่เปอร์เซ็นต์ กดจุดกี่เปอร์เซ็นต์ และมาตรฐานของการยืดมีอะไรบ้าง จากนั้นก็จะรวมคะแนนออกมา ซึ่งถ้าขาดไปเพียง 1 คะแนนก็จะต้องเรียนใหม่จนกว่าจะทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ